วิสัยทัศน์  
 
ประวัติความเป็นมา  
 
โครงสร้างการบริหารงาน  
 
คณะผู้บริหาร  
 
สภาเทศบาล  
 
สำนักปลัด  
 
กองคลัง  
 
กองช่าง  
 
ติดต่อสอบถาม  
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

       

เทศบาลตำบลหนองบัวได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและศึกษาดูงานเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
โดยเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ เทศบาลตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เทศบาลตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาและเทศบาลตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครธผู้บริหาร ตลอดจนพนักงานของเทศบาลทุกคน มีความรู้ มีวิสัยทัศน์ ความสามารถในการยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงเป็นผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์ เข้าใจและปรับใช้ในการทำงานและการให้บริการประชาชนและให้ท้องถิ่นพร้อมยกระดับศักยภาพสำหรับการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน

สัญญาลักษณ์



รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน พื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพมีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงินอยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อ ความมั่นคงสันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน

สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง



คำขวัญ
"One Vision, One Identity, One Community"  (หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม) 

อาเซียน +3 : ประกอบด้วย กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น



อาเซียน+6 : ประกอบด้วย กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุ่มประเทศ +3  และประเทศออสเตรเลีย อินเดียและนิวซีแลนด์


อาเซียน รวมตัวกันเพื่อ ความร่วมมือกันทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม และ ได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงขณะนี้ที่เรามีกฎบัตรอาเซียน (ธรรมนูญ อาเซียน หรือ ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน 

ซึ่งประกอบด้วย 3 สิ่งหลักๆ คือ

1.การเมืองความมั่นคง
2.เศรษฐกิจ (AEC)
3.สังคมและวัฒนธรรม 



ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก 1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community หรือ APSC) ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจึงเป็นเสาหลักความร่วมมือหนึ่งในสาม เสาหลัก ที่เน้นการรวมตัวของอาเซียนเพื่อสร้างความมั่นใจ เสถียรภาพและสันติภาพ ในภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในอาเซียนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและปราศจากภัยคุกคามด้าน การทหาร และภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่นปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียนมีเป้าหมาย 3 ประการ ได้แก่

1.1 สร้างประชาคมให้มีค่านิยมร่วมกันในเรื่องของการเคารพความหลากหลายของแนวคิด และส่งเสริมให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของนโยบายและกิจกรรมภายใต้เสาการเมือง และความมั่นคง

1.2 ให้อาเซียนสามารถเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่และส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์

1.3 ให้อาเซียนมีปฎิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลกโดยอาเซียนมี บทบาท เป็นผู้นำในภูมิภาคและจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงของภูมิภาคนอกจากการมี เสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคแล้วผลลัพธ์ประการสำคัญที่จะเกิดขึ้นจากการ จัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ก็คือการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมี ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่างๆไม่ว่าจะเป็นปัญหา ความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างรัฐสมาชิกกับรัฐสมาชิกด้วยกันเอง ซึ่งจะต้องแก้ไขโดยสันติวิธี หรือปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดย ลำพัง เช่น การก่อการร้ายการลักลอบค้ายาเสพติด ปัญหาโจรสลัด และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น


2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) ท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูงอันส่งผลให้ประเทศต่างๆ ต้องปรับตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงการรวมกลุ่มการค้ากันของประเทศต่างๆ อาทิ สหภาพยุโรปและเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน” ภายในปี 2558 มีประสงค์ที่จะให้ภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่งและสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดย

2.1 มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน

2.2 มุ่งให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า การบริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี

2.3 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียนและช่วยให้ประเทศ สมาชิกเหล่านี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนส่งเสริมให้ อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะที่เสียเปรียบ และส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน

2.4 ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคการพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมายการพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การ ท่องเที่ยว การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือประชาคมเศรษฐกิจ ของ อาเซียน จะ เป็นเครื่อง มือสำคัญ ที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาคลดการพึ่งพาตลาด ในประเทศที่สามสร้างอำนาจการต่อรองและศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียน ใน เวทีเศรษฐกิจ โลก เพิ่มสวัสดิการและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือASCC) มี เป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางสังคมที่เอื้ออาทร และแบ่งปันช่วยเหลือประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาใน ทุกด้านเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการ ใช้ ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืนรวมทั้งส่งเสริม อัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนระบุอยู่ในแผน ปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งประกอบด้วย ความร่วมมือใน 6 ด้านได้แก่
3.1 การพัฒนามนุษย์ (Human Development)
3.2 การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)
3.3 สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)
3.4 ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)
3.5 การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building and ASEAN Identity)
3.6 การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)

กฎบัตรอาเซียน ( ASEAN Charter)
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและ
โครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคม
อาเซียน ภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) เพื่อ ให้อาเซียนเป็น องค์กร ระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มี 
ประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกา
การทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น 


อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ในอาเซียน


...........

ชุดประจำชาติอาเซียน



..................

คำทักทายของอาเซียน

กลับสู่หน้าหลัก..>>>